มารู้จักสรรพคุณของ “เขยตาย” สมุนไพรไม้โบราณแก้พิษ!!



 เขยตาย : แก้พิษฝี พิษงู

ชื่ออื่นๆ : เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ฯลฯ



เหตุที่ได้ชื่อว่า “เขยตาย” นั้น สืบเนื่องมาจากมีตำนานเล่าว่าลูกเขยกับแม่ยายไปทำไร่บนเขาด้วยกัน ขากลับลูกเขยถูกงูกัดตาย แม่ยายจึงตัดต้นไม้มาคลุมร่างเอาไว้กันอุจาด แล้วจึงไปตามคนในหมู่ เมื่อกลับไปที่เกิดเหตุก็พบว่าลูกเขยฟื้นขึ้นมาแล้ว เนื่องจากต้นไม้ที่แม่ยายชักปรกไวนั้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ

ลักษณะของเขยตาย

 ต้นเขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม่ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน
ต้นเขยตาย

ใบเขยตาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบน ๆ จะมีสีแดงที่ฐาน
ใบเขยตาย

 ดอกเขยตาย ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาวมี 5 กลีบ ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร เรียงซ้อนกันเป็นวง ผิวมีต่อมจุด รูปไข่กลับ ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนจะมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็ก ๆ หลายอัน มีต่อมซึ่งเป็นร่อง ส่วนก้านชูดอกสั้นมาก เกสรเพศเมียออกเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรเพศผู้เป็นแท่ง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ดอกเขยตาย

ผลเขยตาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.18 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เป็นลาย ติดผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคม
ผลเขยตาย

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน (ใบ)
รากมีรสเมาขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ (ราก)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ (ราก,ใบ)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคบิดท้องเดิน (ราก,ใบ)
ในบังคลาเทศจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำตาล ใช้กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ (ใบ)
เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนม (เนื้อไม้,เปลือกต้น,ราก)
น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินตอนท้องว่างเป็นยาแก้โรคตับ (ใบ)
เปลือกต้นมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก (เนื้อไม้,เปลือกต้น)
รากใช้ฝนทาแก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ (ราก)
ใบนำมาบดผสมกับขิง ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ (ใบ)
รากใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก ใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษงู (จากงูที่มีพิษไม่รุนแรง) พิษตะขาบกัด พิษปลาดุกแทง ปลาแขยงปักมือ ฯลฯ หรือจะนำรากมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอกทิ้งไว้สักครู่ก็ได้ อาการก็จะหาย (ราก) หรือใช้เปลือกต้นเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้ (เปลือกต้น,เปลือกต้น)
ใบนำมาขยี้หรือบดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์หรือน้ำมะนาว ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ (ใบ)
ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด (ราก)
ดอกและผลมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้หิด (ดอกและผล)



http://www.thaihiggs.com/11819today thai news

Related Post

Previous
Next Post »