เอ๊ะ!! เวลาปวดฟันควรพบทันตแพทย์ หรือแค่ทานยาก็พอ


 ในประเทศไทยมีสมุนไพรบรรเทาอาการปวดฟัน คือ กานพลู หรือน้ำมันกานพลู ที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่และฆ่าเชื้อซึ่งได้ผลดี มีการนำไปผลิตในหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาฟัน เช่น ยาอุดฟัน ยาสีฟัน เป็นต้น รวมถึงยาแก้ท้องเสีย ซึ่งมีกานพลูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า ประชาชนที่ใช้น้ำมันกานพลูหรือยาที่มีส่วนผสมของกานพลูได้ผลดีในการดูแลรักษาความคงทนของฟัน บรรเทาอาการปวดฟันได้อย่างดี ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้อง



เมื่อหายปวดฟันแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์ทันที

เมื่อใช้ยาบรรเทาอาการปวดฟันจนหายดีแล้ว ก็ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อดูแลรักษาฟันของท่านทันที เพราะจะได้สำรวจปัญหาเรื่องฟัน และหาแนวทางแก้ไขให้แต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กลุกลามไปใหญ่โต และเพื่อให้เกิดสุขภาพฟันที่ดีและอยู่คู่ท่านตลอดไป



การป้องกันการปวดฟัน

เรื่องปวดฟัน เกิดจากฟันผุ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขลักษณะของฟันที่ดี ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม ไม่แข็งหรือเปรี้ยวจัดจนเกินไป หมั่นดูแลทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันอย่างน้อย วันละ ๒ ครั้ง และ/หรือใช้ไหมขัดฟัน เพื่อทำความสะอาดฟัน นอกจากนี้ อาจใช้ฟลูออไรด์หรือยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อ ช่วยรักษาเคลือบฟัน ให้คงทนแข็งแรงต่อไป สุดท้ายนี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจเช็กสุขภาพฟันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอปีละ ๑-๒ ครั้ง เมื่อพบสิ่งบกพร่อง จะได้รับการแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะลุกลามเสียหายใหญ่โตในภายหลัง


 “ปวดฟัน” เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ป่วยมักจะมาเล่าอาการให้เภสัชกรที่ร้านยาฟัง เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลฟันที่เหมาะสมต่อไป



ปวดฟันเนื่องจากฟันผุ

อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยๆ เกิดจากฟันผุ หรือการสึกกร่อนของฟัน หรือที่เรียกกันว่า แมงกินฟัน ซึ่งเกิดรวมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็นติดต่อกันนานๆ ก็ลุกลามกินลึกลงไปในถึงรากฟัน ทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดฟันอย่างรุนแรง ในบางรายอาจมีอาการเหงือกบวม เป็นหนอง หรือแก้มโย้บวมได้



ขณะปวดฟัน ควรรักษาอาการปวดฟันให้ทุเลาเสียก่อน

เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดฟันมาพบเภสัชกรที่ร้านยา โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปวดรุนแรง เภสัชกรบางรายอาจแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟันได้ดูแลและแก้ปัญหาปวดฟันให้กับผู้ป่วยทันที แต่เมื่อผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์แล้ว ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยได้เข้าใจว่า ในขณะที่มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรงนั้น ไม่ควรทำการอุดหรือถอนฟันทันที จะต้องให้ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ทุเลาลงก่อน แล้วจึงทำการรักษาดูแลทางทันตกรรมได้



ดังนั้นในขณะที่มีอาการปวดฟัน ผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาบรรเทาอาการปวดฟันให้เบาบางลงก่อนจึงไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมต่อไป

ในทางปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้มาปรึกษาเภสัชกรชุมชน เราจึงแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาอาการปวดและการอักเสบของฟัน ซึ่งใช้ยาอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ คือ

๑. ยาแก้ปวด

๒. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
 ยาแก้ปวด

e_abemrwxy4579

ในการใช้แก้ปวดฟัน มีระดับการปวดตั้งแต่ปวดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปวดมากขึ้นๆ จนถึงขั้นปวดรุนแรง รบกวนการดำเนินชีวิตและการทำงานตามปกติได้ ในเด็กอาจต้องขาดเรียนเนื่องจากการปวดฟันได้ ซึ่งการเลือกชนิดของยาแก้ปวดฟันขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งได้จากการซักถามอาการก็พอจะทำให้ทราบระดับความปวดของผู้ป่วย เพื่อแนะนำยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป

ในกรณีที่เริ่มต้นปวดเล็กน้อยและไม่รุนแรง อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล ในขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัม/เม็ด ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ ๒ เม็ด ทุก ๔-๖ ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดฟัน ถ้าอาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้

ในบางครั้งอาการปวดอาจเป็นรุนแรงมากขึ้น การใช้ยาพาราเซตามอลอาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งแสดงว่าระดับการปวดฟันมีระดับรุนแรงมากขึ้น ซึ่งควรเปลี่ยนตัวยาจากพาราเซตามอลไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่า เช่น แอสไพริน กรดมีเฟนนามิก ไอบูโพรเฟน เป็นต้น

ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง มีการนำไปใช้บรรเทาอาการปวดในโรคต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งรวมถึงอาการปวดฟันด้วย นอก จากนี้ ยากลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ลดไข้ แก้ตัวร้อนได้ผลดีอีกด้วย

 aspirin

ในผู้ใหญ่ควรเลือกใช้ยาแอสไพรินชนิดเม็ดละ ๓๒๕ หรือ ๕๐๐ มิลลิกรัม ครั้งละ ๒ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น



ยาแก้ปวดกรดมีเฟนนามิก ควรใช้ชนิดเม็ด ๕๐๐ มิลลิกรัม ครั้งละ ๑ เม็ด (หรือชนิดเม็ดขนาด ๒๕๐ มิลลิกรัม จำนวน ๒ เม็ด) วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น

ส่วนยาไอบูโพรเฟน ควรใช้ชนิดเม็ด ๔๐๐ มิลลิกรัม (หรือชนิดเม็ดขนาด ๒๐๐ มิลลิกรัม จำนวน ๒ เม็ด) วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น

เนื่องจากยาแก้ปวดกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ในการใช้จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรหยุดยาได้เลย

นอกจากยาแก้ปวดที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมียาแก้ปวดอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดฟันชนิดรุนแรงหรือปวดมากๆ ยิ่งขึ้น แต่ยากลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์ลดไข้แก้ตัวร้อนเหมือนยากลุ่มแรก แต่เนื่อง จากยากลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น จึงมีฤทธิ์เสพติดถ้า มีการใช้ติดต่อกันนาน ในทางปฏิบัติจึงควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์หรือทันตแพทย์ในการสั่งจ่ายยากลุ่มนี้

ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือแก้อักเสบในความเข้าใจของทุกๆคน

5

ยานี้เป็นยาที่อาจพิจารณาเลือกใช้ในกรณีที่คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ฟัน หรือในรายที่มีอาการเหงือกบวม เป็นหนองร่วมด้วยยาที่นิยมใช้ต้านแบคทีเรียทางทันตกรรม คือ อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับยารักษาการ ติดเชื้อในลำคอ (แก้เจ็บคอ) ซึ่งในผู้ใหญ่ ควรใช้ในขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัม/แคปซูล ครั้งละ ๑ เม็ด (หรือชนิดแคปซูล ขนาด ๒๕๐ มิลลิกรัม จำนวน ๒ เม็ด) วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และควรใช้ติดต่อกัน ๕-๗ วัน หรือเหงือกหายบวมแล้ว ๓ วัน





สมุนไพรบรรเทาอาการปวดฟัน

Related Post

Previous
Next Post »