วิธีป้องกันและดูแลอาการป่วย “โรคอีสุกอีใส” ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน


อีสุกอีใส คือ การติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใสที่ทำให้เกิดตุ่มใสๆ ขึ้นมาตามตัวและในปาก ซึ่งต่อมาตุ่มนี้จะเริ่มมีลักษณะข้นขึ้นทำให้ดูเหมือน “สุก” จึงทำให้มีชื่อเรียกว่า อีสุกอีใส เชื้อไวรัสนี้มีชื่อว่า varicella zoster (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสตัวหนึ่งในกลุ่ม เฮอร์ปีส์ไวรัส แพร่กระจายโดยการไอจาม และสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสอยู่ในขณะนั้น

อีสุกอีใส เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย พบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส จะเป็นอีสุกอีใสหลังจากการได้รับเชื้อจากคนอื่น โดยจะเริ่มมีอาการขึ้นตุ่มในช่วงระหว่าง 7-12 วัน หลังสัมผัสเชื้อ ซึ่งเมื่อมีเด็กในบ้านคนหนึ่งป่วยเป็นอีสุกอีใส ก็จะพบว่าพี่น้องและคนอื่นๆ ในบ้านจะเริ่มมีอาการอีสุกอีใสในช่วงประมาณ 2 อาทิตย์ต่อมา
นอกจากจะมีอาการไข้ ปวดหัว เจ็บเนื้อเจ็บตัวแล้ว ตุ่มน้ำใสๆ ที่ขึ้นมายังฝากรอยแผลเป็นไว้ให้เด็กๆ ด้วย ถ้าดูแลไม่ถูกวิธี

เล่ากันว่าในสมัยก่อนปู่ย่าตายายของเรารู้จักหาวิธีมาดูแลลูกหลานโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านรักษา โดย

เสลดพังพอนตัวเมีย หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พญายอ ให้แต่เด็ดใบเสลดพังพอนตัวเมียมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาโขลกหรือปั่นให้ละเอียดผสมกับน้ำดินสอพอง ทาที่ตุ่มสุกใสบ่อยๆ จะช่วยลดอาการคัน และทำให้ตุ่มแผลแห้งเร็ว ลดอาการบวมแดงของตุ่มได้ดี ช่วยให้เด็กไม่มาแกะเกาตุ่มจนกลายเป็นแผลเป็นได้ ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ทำเป็นยาคาลาไมล์เสลดพังพอน ใช้ทาอีสุกอีใสได้ผลดีมาก พอตุ่มใสขึ้นก็แต้มยาลงไป ตุ่มจะฝ่อ ไม่แตกอักเสบจนเป็นหนอง ทาแล้วจะเย็นสบายหายคันทำให้เด็กหลับได้ดีอีกด้วย
ใบมะยม ถ้าหาใบเสลดพังพอนไม่ได้ ขอแนะนำให้เอาใบมะยมกลางอ่อนกลางแก่ 2-3 กำมือ ใส่น้ำ 2-3 ลิตร ต้มให้เดือดนาน 20 นาที แล้วยกลงผสมน้ำเย็นให้อุ่นพออาบได้ อาบวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น หลังอาบน้ำอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายเป็นปกติใน 3 วัน


นอกจากนี้ยังมีใบอ่อนของสะเดา ที่ตำราแพทย์ชาวจีนให้นำมาต้มกิน ตำรายาพื้นบ้านก็มีใบย่านาง ให้ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่นและความเชื่อที่ว่าให้ต้มน้ำผักชีอาบก็เพราะว่า สรรพคุณของผักชีคือเป็นพืชธาตุเย็นที่ช่วยลดอาการผื่นแดง เป็นต้น



today thai news

Related Post

Previous
Next Post »