ในส่วนสาเหตุของโรค Binge eating disorder อาจยังไม่มีการฟันธงอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จาก 3 สาเหตุนี้
1. ความเครียด ความกังวลที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยมาก เช่น กังวลในรูปร่างของตัวเอง หรือกลัวอ้วนขึ้นมาก ๆ
2. พฤติกรรมลดน้ำหนักแบบผิด ๆ เช่น อดมื้อกินมื้อ หรือพยายามงดอาหารจนแทบไม่ได้กินอะไรในแต่ละวัน
3. ปัญหาทางครอบครัวที่ฝังลึกในจิตใจ หรือความกดดันทางสังคมจนก่อให้เกิดความเครียด
* Binge eating disorder ใครเสี่ยงบ้าง ?
โรค Binge eating disorder พบมากในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เกิดในช่วงอายุประมาณ 23 ปี โดยเฉลี่ย มีแนวโน้มจะพัฒนามาจากโรคกินผิดปกติอย่างโรคคลั่งผอม จนมาเป็น Binge eating disorder และโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรค Binge eating disorder มักจะเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่ว่าจะกับเรื่องไหนก็ตาม อีกทั้งกับคนที่ชอบให้รางวัลตัวเองด้วยการกิน กินเพื่อคลายเครียด หรือรู้สึกอะไรก็มักจะกิน คนกลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงเป็นโรค Binge eating disorder มากกว่าคนอื่น ๆ ด้วย
Binge Eating Disorder
* โรค Binge eating disorder อันตรายแค่ไหน ?
แม้โรค Binge eating disorder จะไม่ใช่โรคร้ายแรงมากนัก แต่ก็สามารถกระทบกับการดำเนินชีวิตและสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้หากไม่รักษาอาการ Binge eating disorder อย่างเหมาะสม พฤติกรรมกินเยอะเป็นช่วง ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคอ้วน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- ปัญหานอนไม่หลับ
- ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
- อาการเจ็บที่กระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
Binge Eating Disorder
* Binge eating disorder อาการอย่างนี้ล่ะใช่ ต้องใช่แน่ ๆ
- รับประทานอาหารมากกว่าปกติ มากกว่าที่คนอื่น ๆ เขากินกัน
- ทุกครั้งที่เริ่มรับประทานอาหาร ก็เหมือนจะควบคุมปริมาณอาหารที่กินเข้าไปไม่ได้
- กินอาหารด้วยความรวดเร็วเสมอ
- ยังคงกินอีกได้เรื่อย ๆ แม้จะรู้สึกอิ่มจนแน่นท้องแล้วก็ตาม
- สามารถกินอาหารในปริมาณมาก ๆ ได้ แม้จะไม่รู้สึกหิวเลยสักนิด
- ทุกครั้งที่เกิดอาการก็มักจะหลบไปกินคนเดียว เพราะอายที่จะให้ใครรู้ว่าตัวเองกินอาหารได้เยอะขนาดไหน
- ยิ่งเครียด ยิ่งอารมณ์เสีย ยิ่งกิน
- จะรู้สึกผิดและรู้สึกแย่ทุกครั้ง หลังกินอาหารมื้อใหญ่เข้าไปแล้ว
นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรม หรือการแสดงออกทางอารมณ์เหล่านี้ร่วมด้วย
- มีพฤติกรรมกินอาหารอย่างลับ ๆ ชอบกักตุนอาหาร หรือขโมยอาหารมากินคนเดียว
- กังวลกับน้ำหนักตัวและรูปร่าง
- พยายามอย่างมากที่จะควบคุมตนเอง หรือพยายามลดน้ำหนักอย่างหักโหมเกินพอดี แต่ก็เหมือนเอาชนะใจตัวเองไม่สำเร็จสักเท่าไร
- รู้สึกเกลียดตัวเองทุกครั้งที่เกิดอาการ Binge eating disorder
หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีอาการเกินกว่า 3 ข้อขึ้นไป และมักจะมีอาการอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ นั่นอาจแปลว่าคุณกำลังป่วยโรค Binge eating disorder และควรได้รับการรักษา
Binge Eating Disorder
* Binge eating disorder รักษาได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. บำบัดทางจิต นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์จะใช้วิธีพฤติกรรมบำบัด และค่อย ๆ ปรับทัศนคติต่อการลดน้ำหนัก การระบายอารมณ์ ความเครียด และปรับพฤติกรรมการกินให้เป็นปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป
2. รักษาด้วยยา จิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มยาคลายเครียดเพื่อลดอาการ Binge eating disorder ร่วมกับการบำบัดทางจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักมาก
3. บำบัดพฤติกรรมลดน้ำหนัก วิธีนี้เหมาะจะรักษาผู้ป่วยโรค Binge eating disorder ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมลดน้ำหนักผิดวิธี โดยจะจัดให้ผู้ป่วยเข้าคอร์สลดน้ำหนักอย่างถูกต้องด้วยเทรนเนอร์และนักโภชนาการ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่คอร์สรับประทานอาหาร วิธีการออกกำลังกาย และการติดตามผล
อย่างไรก็ตามโรค Binge eating disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแอบซ่อนพฤติกรรมบ่งชี้โรคไว้กับตัวเองคนเดียว ดังนั้นการรักษาจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการยอมรับว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยเสียก่อนนะคะ และอย่ากังวลว่าการเข้าพบจิตแพทย์จะแปลว่าเราเป็นผู้ป่วยโรคจิต คิดไว้อย่างเดียวว่าหากรักษาตัวเองหายจากโรค Binge eating disorder ได้เมื่อไร เราก็จะใช้ชีวิตได้ตามปกติสุขเมื่อนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแ
today thai news