ย่านาง วิธีทำ-วิธีกิน สูตรหมอเขียว ใจเพชร กล้าจน (Momy pedia)
โดย: Olivier
ย่านาง สมุนไพรแสนคุ้นเคยและคุ้นลิ้น ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสมุนไพรสุดฮิต ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ
เราอาจจะคุ้นเคยกับย่านางในฐานะที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อม ของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้ ยอดอ่อนของเถาย่านางนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่น ๆ บางคนนำใบและยอดอ่อนใส่ในอ่อมและหมกต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน
ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้
วิธีทำ
1.ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาทิ ใบย่านาง 5-20 ใบ, ใบเตย 1-3 ใบ, บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ, หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง- 1 กำมือ, ใบเสลดพังพอน ครึ่ง – 1 กำมือ, ว่านกาบหอย 3-5 ใบถ้าใครสะดวกจะใช้ใบย่านาง เพียงอย่างเดียวหรือใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้ค่ะ2.ตัดหรือฉีกใบสมุนไพรให้เล็กลง และนำไปโขลกสมุนไพรให้ละเอียด หรือ ขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น (ควรใช้ระยะเวลาไม่นาน 30 วินาที – 1 นาทีก็พอเพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุด คงคุณค่ามากที่สุด)
3.นำมากรองผ่านกระชอนหรือผ้าขาวบาง
4.ได้น้ำย่านางแล้ว
วิธีกิน
ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้ค่ะ
สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ
สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น ๆ ที่ชอบ เช่น ขมิ้น ขิง ตะไคร้
แล้วคุณล่ะคะ ได้ดื่มด่ำกับน้ำย่านางแล้วเหรอยัง
today thai news