เสาวรส ผลไม้ลดไขมันในเลือด บำรุงสายตา ต้านอนุมูลอิสระก็ได้



   เสาวรส สรรพคุณของผลไม้รสเปรี้ยวจี๊ดที่มากไปด้วยคุณค่า การันตีความคู่ควรกับคนทุกวัย

          ผลไม้อย่างเสาวรสหรือกะทกรกที่เรียกกัน ทุกคนคงรู้ประโยชน์ของเสาวรสกันมาบ้าง แต่ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวจัดบวกกับกลิ่นเฉพาะตัวของเสาวรส อาจทำให้หลายคนส่ายหน้าและไม่ยอมเปิดใจลองชิมเสาวรสเลยสักครั้ง ซึ่งนั่นไม่ต่างอะไรจากการปฏิเสธผลไม้เพื่อสุขภาพสรรพคุณเด็ดดวงกันเลยทีเดียว

เสาวรส ผลไม้ชนิดนี้ควรรู้จัก

          เสาวรส จริง ๆ แล้วถูกเรียกในหลายชื่อ ทั้งเสาวรส กะทกรก หรือภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า แพสชั่นฟรุต (Passion fruit) ลักษณะต้นของเสาวรสเป็นไม้เถา ใบเป็นใบเดี่ยว มีขอบหยัก ส่วนลูกเสาวรสนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ ผลอาจมีสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล แล้วแต่สายพันธุ์ โดยด้านในผลเสาวรสจะประกอบไปด้วยเนื้อและเมล็ดเสาวรสจำนวนมาก ส่วนรสชาติก็มีทั้งเปรี้ยวจัดและเปรี้ยวอมหวาน ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์เช่นเดียวกันค่ะ

เสาวรส

เสาวรส สรรพคุณที่ทุกคนคู่ควร

          ประโยชน์ของเสาวรสมีนับไม่ถ้วนพอสมควร โดยเฉพาะใครที่อยากลดไขมันในเลือด บำรุงสายตา และผิวพรรณ ไม่ควรพลาดเสาวรสด้วยประการทั้งปวง ทว่าสรรพคุณเสาวรสไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ แต่ยังมีประโยชน์ตามบรรทัดข้างล่างนี้ด้วย

           เสาวรสอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ วิตามิน และไฟเบอร์ ในขณะที่เสาวรส 100 กรัม ให้พลังงานเพียงแค่ 97 แคลอรีเท่านั้น

           เสาวรสดีต่อการขับถ่าย ด้วยความที่มีไฟเบอร์สูง จึงสามารถช่วยขจัดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ อีกทั้งยังช่วยขับสารพิษในลำไส้ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ไปได้ในตัว

           ห่างไกลจากไข้หวัด เพราะเสาวรส 100 กรัม พกวิตามินซีมาด้วยถึง 30 มิลลิกรัม การันตีได้ว่า กินเสาวรสเป็นประจำแล้วจะห่างไกลจากไข้หวัด แถมมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงแน่นอน

           บำรุงสายตาได้ดีเยี่ยม เพราะไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยวิตามินเอเท่านั้น ทว่าเสาวรสยังพ่วงสารฟลาโวนอยด์อย่างเบต้าแคโรทีนและคริบโทแซนทินเบต้า (cryptoxanthin-ß) ซึ่งผ่านการศึกษามาแล้วว่า สารเหล่านี้มีคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ ควบคู่ไปกับวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี

           บำรุงหัวใจและความดันโลหิต เพราะเสาวรสอุดมไปด้วยโพแทสเซียมถึง 384 มิลลิกรัมต่อเสาวรส 100 กรัม ซึ่งโพแทสเซียมมีความสำคัญต่อเซลล์และของเหลวในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตให้เป็นปกติได้ด้วย

           ป้องกันมะเร็งปอดและมะเร็งช่องปาก ผลไม้ที่อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์และวิตามินเอมีส่วนช่วยป้องกันความเสี่ยงมะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้ได้

เสาวรส

เสาวรส กินยังไง ?

          เห็นหน้าตาประหลาด ๆ สีสันก็แซ่บได้ใจ แถมยังมีกลิ่นเฉพาะตัวอีกต่างหาก หลายคนจึงเกิดข้อสงสัยว่า เจ้าเสาวรส หรือกระทกรกนี้กินยังไงกันละเนี่ย ต้องบอกตรงนี้ค่ะว่
สามารถทำได้ตามนี้ (น้ำเสาวรส เครื่องดื่มมหัศจรรย์ แก้วนี้เพื่อผู้สูงวัย !) ซึ่งประโยชน์ของน้ำเสาวรสก็ยืนยันได้จากง ส่วนมากแล้วคนจะนิยมคั้นน้ำเสาวรสกัน โดยวิธีทำน้ำเสาวรสที่อร่อยและคงคุณประโยชน์ได้ครบานวิจัยของ ดร.ศุภวัชร สิงห์ทอง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมคณะ ที่พบว่า การดื่มน้ำเสาวรสมีส่วนทำให้ปริมาณวิตามินเอและวิตามินอีในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และยังทำให้ปริมาณไซโตไคน์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการอักเสบลดลง นอกจากนี้การดื่มน้ำเสาวรสยังช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ควรดื่มน้ำเสาวรสเป็นประจำเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 

          ประโยชน์ของน้ำเสาวรสเด็ดสมคำร่ำลือจริง ๆ และนอกจากผลที่นำมาคั้นน้ำดื่มแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของเสาวรสก็นำมากินได้เช่นกัน โดยเฉพาะสรรพคุณด้านสมุนไพรของเสาวรสที่นิยมกินกันตามนี้

           ยอด สามารถรับประทานเป็นผักสด แต่จะมีรสขมเล็กน้อย อาจนำมาจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกงยอดเสาวรสก็ได้

           เนื้อไม้ ตำรับสมุนไพรใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษ และใช้รักษาบาดแผล

           ราก แก้ไข้ รักษาผื่นคัน และรักษาโรคกามโรค โดยนำรากไปต้มน้ำ

           ใบ นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ กินเป็นยาถ่ายพยาธิได้

           ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ

          แต่ถ้าใครอยากลองนำเสาวรสมาทำเมนูอื่น ๆ เราก็มีเมนูเสาวรสมาไกด์ให้ด้วยล่ะ ใครอยากรับประโยชน์เสาวรสพร้อมความอร่อยแสนฟิน ลองทำเมนูเสาวรสตามวิธีทำเหล่านี้เลยจ้า

เสาวรส

เมนูเสาวรส

          ชามะนาวเสาวรส เปรี้ยวถึงใจได้สุขภาพ
          เสาวรสนมสดสีม่วง เครื่องดื่มแนวใหม่อร่อยกว่าเดิม
          ค็อกเทลขิงผสมเสาวรส เครื่องดื่มสำหรับวันสบาย ๆ 
          น้ำเสาวรส น้ำฟักข้าว น้ำหมากเม่า เครื่องดื่มจากผักผลไม้พื้นบ้าน
          ครีมบูเล่เสาวรส รสชาติใหม่ชวนลิ้มลอง 
          กรานิต้าฟักข้าวผสมเสาวรส หวานเย็นคลายร้อน ชื่นใจได้ประโยชน์
          แยมมะละกอโฮมเมด วิธีทำแยมกินเอง จับของเหลือมาทำของดี
          น้ำฟักข้าว เครื่องดื่มสุขภาพสุดฮิต ทำอย่างไร ดื่มแบบไหนให้อร่อย

เสาวรส

เมล็ดเสาวรส กินได้ไหม

          แนะนำเมนูเสาวรสไว้ซะเยอะแยะ แต่ก็เชื่อว่าหลายคนคงมีข้อสงสัยกันพอสมควรในเรื่องเมล็ดของเสาวรสที่มีอยู่เยอะเหลือเกิน แล้วสรุปเจ้าเมล็ดเสาวรสนี้กินได้ไหม ตอบตรงนี้ชัด ๆ เลยค่ะว่า เมล็ดเสาวรสกินได้ ทว่าควรจะนำเมล็ดไปปั่นละเอียดหรือนำไปตำให้แหลกพอประมาณ เพื่อช่วยให้ลำไส้ย่อยเมล็ดเสาวรสได้สะดวกขึ้นนั่นเอง 

กินเสาวรสทุกวันดีไหม

          แม้ประโยชน์ของเสาวรสจะดีต่อสุขภาพ แต่นายแพทย์วัลลภ พรเรืองวงศ์ จากโรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้นำผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาธ์แคลิฟอร์เนียและฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเตือนกันว่า เสาวรสมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ตับ ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) เพิ่มสูงขึ้น จนกระตุ้นเซลล์มะเร็งที่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมนให้แบ่งตัวเร็วขึ้นได้ โดยอ้างอิงจากผลวิจัยที่พบว่า ผู้หญิงที่กินเสาวรส 1 ใน 4 ผลขึ้นไปทุกวัน อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นราว 30% ได้
    
          ทว่านายแพทย์วัลลภ พรเรืองวงศ์ ก็ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ทำในประชากรหมู่มาก และเป็นเพียงการศึกษาแรกเริ่มซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไปในอนาคต แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ควรกินเสาวรสสับเปลี่ยนกับผักและผลไม้อื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากอาหารหลาย ๆ ชนิดอย่างครบถ้วน

โทษของการกินน้ำเสาวรส ?

          ในเมื่อกินเสาวรสทุกวันอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แล้วหากกินน้ำเสาวรสเป็นประจำอย่างนี้จะมีโทษหรือเปล่า คำถามนี้อาจตอบได้ว่า เราควรกินน้ำเสาวรสสลับกับการบริโภคผักผลไม้และอาหารเพื่อสุขภาพอื่น ๆ หมุนเวียนกันไป อีกทั้งหากจะดื่มน้ำเสาวรสก็ควรดื่มที่คั้นสด ๆ ไม่เติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเพิ่มความหวานลงไปอีก หรือถ้าไม่ชอบรสเปรี้ยวจริง ๆ ก็ให้เติมน้ำตาลลงไปได้เล็กน้อย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากเสาวรสอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีโรคจากน้ำตาลที่เติมมาในแก้วเป็นของแถมนะคะ ที่สำคัญผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่แล้ว ควรดื่มน้ำเสาวรสพอประมาณด้วย

          ไม่ว่าผักและผลไม้จะมีประโยชน์บวกกับสรรพคุณมากมายแค่ไหน เราก็ควรเลือกกินอย่างพอเหมาะเพื่อให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างพอดิบพอดีนะคะ





yyyyy

Related Post

Previous
Next Post »