คำว่า grenade (กรีเนท) หรือลูกระเบิดมือ ใช้กันในฝรั่งเศสเมื่อคริสตวรรษที่ 16 ซึ่งตอนนั้นไม่ได้ใช้คำว่า grenade แต่ใช้เป็นคำว่า grenadier เป็นคำรวมของคำว่า grenade กับ คำว่า soldier ซึ่งแปลว่าทหาร พอถึงคริสตวรรษที่ 20 มีการทำลูกระเบิดมือกันมากเพื่อใช้ในสงคราม โดยมีลักษณะคล้ายน้อยหน่า จึงนำคำว่า grenade มาใช้ใหม่
ลูกระเบิดมือที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ถูกออกแบบให้ทนทานต่อสภาวะอากาศต่างๆ เช่นความร้อน ความเย็น เป็นต้น และจะต้องง่ายต่อการผลิต ระบบการหน่วงเวลาซึ่งเป็นที่นิยมกันคือระบบทางเมคคานิกส์ หรือทางกล ดังรูปข้างล่างนี้ ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
คำศัพท์ภายในรูปภาพ
Safety Pin : สลักนิรภัย Striker : เข็มกระแทก Filling Hole : รูบรรจุสารระเบิด Stiker Spring : สปริงดันเข็มกระแทก Explosive Material : สารระเบิด Chemical Delay : สารเคมีหน่วงเวลา Serrated Cast Iron Shell : เปลือกทำด้วยเหล็กหล่อ Detonator : ตัวจุดระเบิด Stiker Lever : คานงัดเข็มกระแทก
เปลือกภายนอกของลูกระเบิดมือทำด้วยเหล็กหล่อ ภายในบรรจุสารระเบิด มีระบบจุดระเบิดโดยใช้เข็มกระแทก และเจาะรูใส่สารระเบิดด้านบน การจุดระเบิดเริ่มต้นจากสปริง ซึ่งจะคอยดันตัวเข็มกระแทกให้พุ่งเข้าหา Percussion cap แต่ที่ยังไม่พุ่งลงมาก็เพราะว่า คานด้านนอกงัดเข็มกระแทกไว้อยู่ โดยมีห่วงสลักนิรภัย คอยดันไม่ให้คานกระดก เมื่อผู้ใช้ดึงห่วงนิรภัยออก ขั้นตอนการระเบิดเริ่มต้นขึ้น ดังต่อไปนี้
เมื่อไม่มีคานยันร่องเข็มด้านบนไว้ สปริงจะดันเข็มให้พุ่งไปที่ Percussion cap (เพอร์คัดชั่นแคป) โดยหัวเข็มจะกระแทกเข้ากับแคปนี้ เกิดการสปาร์กเล็กๆขี้น
การสปาร์กคือ เกิดประกายไฟขึ้น ประกายไฟนี้จะไปจุดสารเคมีใต้แคปให้เกิดการเผาไหม้วิ่งไปตามทางโค้งซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 วินาที จึงจะไปถึงตัวจุดระเบิด
ตัวจุดระเบิด ทำเป็นแคปซูลขนาดเล็ก ภายในบรรจุสารไวไฟ เมื่อสารเคมีไหม้มาถึง ตัวจุดระเบิดจะติดไฟและเกิดการระเบิดเล็กๆขึ้น
สารระเบิดรอบๆ เกิดการระเบิดขึ้น ลูกระเบิดทั้งลูกแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ถ้าผู้ผลิตต้องการให้เกิดอำนาจการทำลายที่สูง พวกเขาจะใส่โลหะชิ้นเล็กๆลงไปพร้อมกับสารระเบิด โลหะชิ้นเล็กๆนี้จะกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง ดังนั้นถ้าการอำนาจการทำลายที่สูงกว่านี้อีก ก็ให้ใส่ เส้นลวด ผงโลหะ หรือสารที่ทำให้เกิดควันพิษ จะทำให้การระเบิดมีความน่ากลัวกว่าการระเบิดธรรมดาหลายเท่านัก
ลูกระเบิดแบบหน่วงเวลาโดยรวมแล้วมีประสิทธิภาพมาก แต่มีข้อด้อยอยู่มากเหมือนกัน ปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถกำหนดเวลาการระเบิดให้มีความแน่นอนได้ เพราะการไหม้ของสารเคมี ยากที่จะควบคุมให้มีความเสถียรภาพ ดังนั้นเวลาการไหม้ของสารเคมี ที่คำนวณกันว่าน่าจะเป็น 4 วินาที อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจาก 2 ถึง 6 วินาที และยังมีปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ ขณะที่ผู้ใช้ขว้างลูกระเบิดออกไปที่ศัตรูนั้น ในช่วงเวลาที่เกิดการหน่วง และยังไม่มีการระเบิด ศัตรูมีโอกาสเข้ามาชาร์จถึงตัวได้ หรืออาจจะพอมีเวลาหยิบลูกระเบิดที่ผู้ขว้างไปนั้น ขว้างกลับมาก็เป็นไปได้
ด้วยเหตุผลนี้นี่เอง จึงอาจจะต้องเปลี่ยนการใช้ระเบิดแบบหน่วงเวลาไปเป็นแบบกระแทกแทน เพราะระเบิดแบบกระแทกนี้ ศัตรูไม่มีโอกาสเลยในการขว้างกลับ เรามาดูหลักการของลูกระเบิดแบบนี้กัน