เป็นที่ทราบกันตั้งแต่ดีตั้งแต่เด็กๆ ว่าหากพบเนื้อหมูสีแดงสดจัดผิดปกติ ที่วางขายตามตลาดทั่วไป ให้ตั้งข้อสงสัยเอาไว้คร่าวๆ ได้เลยว่า อาจเป็นเนื้อหมูที่มีการใส่สาร “บอแรกซ์” ซึ่งเป็นสารที่ผู้ค้าส่งเนื้อสัตว์มักใช้ใส่ในเนื้อสัตว์สด เพื่อทำให้สีสันดูสดใหม่ น่ารับประทานมากขึ้น และช่วยไม่ให้อาหารสดเน่าเสียง่าย หากแต่ “บอแรกซ์” เป็นสารที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
บอแรกซ์ คืออะไร?
บอแรกซ์ หรือผงเนื้อนิ่ม, น้ำประสานทอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “โซเดียม เตตราบอเรต” ปกติเอาไว้ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น การทำแก้ว เพื่อช่วยให้แก้วทนความร้อนมากยิ่งขึ้น และอุตสาหกรรมหล่อทอง เพื่อช่วยประสานเนื้อทองขณะผลิตทองคำ หรืออุตหกรรมเครื่องสำอาง ที่ใช้บอแรกซ์ในแป้งทาตัว เพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
นอกจากนี้สารบอแรกซ์ไม่สามารถถูกกำจัดได้หมดด้วยความร้อน จะยังมีสารตกค้างปะปนอยู่ ดังนั้น บอแรกซ์ ไม่ใช่สารที่จะนำมาใส่ในอาหาร
อันตรายจาก “สารบอแรกซ์” ในเนื้อหมู
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ทันทีที่ทาน
1. คลื่นไส้ อาเจียน
2. ปวดท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
3. อุจจาระร่วง มีเลือดปน
4. อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
5. หงุดหงิด เหนื่อยง่าย
6. ระบบประสาทส่วนกลางถูกกดทับ จนอาจถึงแก่ชีวิต
อาการที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับสารบอแรกซ์ทีละเล็กละน้อย แต่ต่อเนื่องยาวนาน
7. มีอาการเบื่ออาหาร
8. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
9. ความดันโลหิตลดลง
10. ผิวหนังแห้ง อักเสบ เป็นผื่นแดง
11. ตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ
12. ปัสสาวะน้อยลง เพราะร่างกายไม่สามารถขับของเสียได้ และทำให้ร่างกายเต็มไปด้วยสารพิษ
ปริมาณบอแรกซ์ที่ทำอันตรายต่อร่างกาย
ผู้ใหญ่
ทำให้ร่างกายเกิดพิษ : 5-10 กรัม
มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต : 15-30 กรัม
เด็ก
ทำให้ร่างกายเกิดพิษ และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต : 4.5-14 กรัม
อาหารที่พบการใส่สารบอแรกซ์
1. หมูบดสำเร็จรูป
2. ลูกชิ้นกรุบกรอบ
3. ทอดมัน
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่งทีมเข้าไปตรวจคุณภาพเนื้อหมูในตลาดอยู่เป็นระยะๆ หากพบเนื้อหมูที่มีการใส่สารบอแรกซ์ ผู้ค้าต้องได้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
http://healt food thailand.com/3917/