ถั่วเขียว ธัญพืชตัวน้อย สรรพคุณบิ๊กเบิ้ม ของดีที่อยากให้ลอง





   ประโยชน์ของถั่วเขียว ที่อัดแน่นเต็มเมล็ด อาหารเพื่อสุขภาพใกล้ตัวที่หาง่าย จะเป็นของคาวก็ได้ ของหวานก็ดี ธัญพืชชนิดนี้บอกเลยท้าให้ลอง !

          ถ้าจะพูดถึงถั่วที่คนนิยมรับประทานกัน ก็คงจะมองข้ามถั่วเขียวไปไม่ได้ เพราะถั่วเขียวอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณ ถั่วเขียวถูกนำมาทำเป็นของหวานหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นถั่วเขียวต้มน้ำตาล ถั่วกวน ลูกชุบ หรือนำมาทำเป็นไส้ขนมต่าง ๆ อีกหลายชนิด แต่เคยทราบกันหรือไม่ว่าถั่วเขียวนั้นมีประโยชน์กับสุขภาพอย่างไร ถ้าอย่างนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับเจ้าถั่วชนิดนี้ให้มากขึ้น มาดูกันสิว่าพืชตระกูลถั่วชนิดนี้ที่มีขนาดเล็กจิ๋วจะมีคุณประโยชน์ใดที่น่าสนใจแอบซ่อนอยู่บ้างนะ

ถั่วเขียว

          ถั่วเขียว (Green Bean หรือ Mung Bean) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus aureus L. เป็นพืชในตระกูลถั่ว เช่นเดียวกับถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแขก และถั่วพู มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบอินเดีย พม่า อินโดนีเซีย และไทย มีลักษณะเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อายุประมาณ 1 ปี ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 เซนติเมตร มีขนตามลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3 ใบย่อย ลักษณะใบเป็นใบตั้ง รูปใข่ บ้างก็คล้ายรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ ลักษณะดอกเหมือนดอกถั่วทั่วไป เป็นสีเหลือง ส่วนเมล็ดมีสีเขียวรูปกึ่งกลม โดยส่วนใหญ่แล้วถั่วเขียวมักถูกนิยมนำมาทำเป็นแป้ง วุ้นเส้น หรือนำไปนึ่งให้สุกแล้วกวนเป็นขนม นอกจากนี้ก็ยังนิยมนำไปเพาะเป็นต้นอ่อน หรือที่เรียกว่าถั่วงอก เพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารอีกด้วย โดยถั่วงอกจะมีปริมาณวิตามินซีที่มากกว่าถั่วเขียวที่เป็นเมล็ด 
   
ทั้งนี้ถั่วเขียวต้มสุก 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้


















  - น้ำ 93.39 กรัม 
          - พลังงาน 21 กิโลแคลอรี
          - โปรตีน 2.03 กรัม
          - คาร์โบไฮเดรต 4.19 กรัม
          - ไฟเบอร์ 0.8 กรัม
          - น้ำตาล 2.84 กรัม
          - แคลเซียม 12 มิลลิกรัม
          - ธาตุเหล็ก 0.65 มิลลิกรัม
          - แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม
          - ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
          - โพแทสเซียม 101 มิลลิกรัม
          - โซเดียม 10 มิลลิกรัม
          - สังกะสี 0.47 มิลลิกรัม
          - ไธอะมีน 0.05 มิลลิกรัม
          - ไรโบฟลาวิน 0.1 มิลลิกรัม
          - ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
          - โฟเลต 29 ไมโครกรัม
          - วิตามินซี 11.4 มิลลิกรัม
          - วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม
          - วิตามินอี 0.07 มิลลิกรัม
          - วิตามินเค 22.7 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของถั่วเขียว สรรพคุณสุดบิ๊กเบิ้ม ในธัญพืชตัวจิ๋ว

ถั่วเขียว

1. ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันโรคหัวใจ

          จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Human and Experimental Toxicology เมื่อปี 2011 พบว่า การรับประทานถั่วเขียวสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholerterol) และช่วยยับยั้งภาวะออกซิเดชั่นของไขมันที่จะไปทำลายหลอดเลือดได้ และเมื่อระดับคอเลสเตอรอล LDL ลดลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็ลดลงด้วย เนื่องจากคอเลสเตอรอลชนิด LDL หากเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดีพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานอย่างหนักเพื่อสูบฉีดเลือด และก่อให้เกิดโรคหัวใจในที่สุดค่ะ

2. ป้องกันท้องผูก

          ถั่วเขียวเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายได้ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือท้องอืด อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนได้อีกด้วย โดยในประเทศอินเดียได้นำถั่วเขียวมาปรุงกับขมิ้น ผักชี ยี่หร่า และขิง เพื่อเป็นยารักษาอาการปวดท้องเนื่องจากท้องผูกด้วยนะคะ

3. ป้องกันภาวะการติดเชื้อ

          ด้วยปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในถั่วเขียวที่มีมากไม่แพ้ซูเปอร์ฟู้ดชนิดอื่น จึงทำให้ถั่วเขียวมีฤทธิ์ในการป้องกันการติดเชื้อ และการอักเสบภายในร่างกายได้ ส่งผลให้ความเสี่ยงอาการเจ็บป่วย และโรคภัยต่าง ๆ ลดลง

4. เป็นอาหารล้างพิษ

          อีกหนึ่งคุณประโยชน์ที่มาจากไฟเบอร์ในถั่วเขียวก็คือการล้างพิษให้ลำไส้ เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์เข้าไปมาก ๆ ไฟเบอร์เหล่านั้นจะไปช่วยจัดสารพิษต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้ร่างกายขับถ่ายสารพิษออกมา เมื่อลำไส้สะอาดขึ้นก็จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีมากขึ้น สุขภาพก็แข็งแรงขึ้น

ถั่วเขียว

5. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

          สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ต้องพิถีพิถันกับการเลือกอาหารมากกว่าคนทั่วไป ถั่วเขียวถือเป็นตัวเลือกที่ดีเลยล่ะค่ะ เพราะถั่วเขียวเป็นอาหารที่มีระดับน้ำตาลที่ต่ำ เมื่อรับประทานแล้วปริมาณน้ำตาลในถั่วเขียวก็จะไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วย นอกจากนี้ถั่วเขียวยังช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยมีการศึกษาที่ทำการทดลองกับหนูพบว่า เมื่อให้หนูกินสารสกัดจากถั่วเขียวเข้าไป ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง อีกทั้งระดับการตอบสนองของอินซูลินต่อน้ำตาลในเลือดก็ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงเมนูถั่วเขียวที่มีน้ำตาลสูง เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล หรือขนมหวานที่ทำจากถั่วเขียวจะดีที่สุดค่ะ

6. อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ











    อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุสำคัญของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งริ้วรอยและการเสื่อมสภาพของร่างกายก่อนวัย โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งถั่วเขียวก็เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายไม่แพ้ซูเปอร์ฟู้ดชนิดอื่น ๆ รู้แบบนี้แล้ว อยากสุขภาพดี ไม่ดูแก่ก่อนวัย ก็ต้องรับประทานถั่วเขียวกันนะคะ

7. บำรุงครรภ์ให้แข็งแรง

          โฟเลต เป็นสารอาหารสำคัญที่พบได้ในถั่วเขียว ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ DNA และการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานของสมอง สมดุลของฮอร์โมน และระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การรับประทานโฟเลตอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันภาวะพิการในทารก และการคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งป้องกันการแท้งบุตรได้อีกด้วย

8. ป้องกันภาวะโลหิตจาง 

          ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญกับระบบโลหิต หากร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มักจะเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กในช่วงมีประจำเดือน และช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งถั่วเขียวก็เป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กอยู่ไม่น้อย เหมาะสำหรับรับประทานเพื่อเพิ่มธาตุเหล็กให้กับร่างกาย โดยไม่ต้องพึ่งพาอาหารเสริมที่มีราคาแพงค่ะ









ถั่วเขียว

9. ป้องกันโรคมะเร็ง

          จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมแห่งชาติจีนพบว่า ถั่วเขียวมีระดับโพลีฟีนอล และโอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) สูง ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และป้องกันไม่ให้เกิดเนื้อร้าย ขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระในถั่วเขียวก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายและกลายเป็นเซลล์มะเร็งอีกด้วย

10. บำรุงผิวพรรณ และเส้นผม

          สาว ๆ คนไหนที่อยากจะมีผิวพรรณเปล่งปลั่งและสุขภาพผมดี ถั่วเขียวช่วยคุณได้ค่ะ เพราะถั่วเขียวอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมาย ซึ่งช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้ดูเปล่งปลั่ง อีกทั้งยังช่วยให้หนังศีรษะแข็งแรง ผมไม่หลุดร่วงง่ายอีกด้วย ถ้าสนใจอยากลองบำรุงผมและผิวหน้าด้วยถั่วเขียวละก็ ลองหยิบสูตรเหล่านี้ไปใช้ดูค่ะ

สูตรพอกหน้าด้วยถั่วเขียว

ส่วนผสม

          - เมล็ดถั่วเขียว
          - น้ำอุ่น

วิธีใช้

          1. นำถั่วเขียวมาบดเป็นผงละเอียด
          2. เติมน้ำอุ่นผสมกับผงถั่วเขียว คนให้เข้ากันจนกลายเป็นเนื้อครีม
          3. นำมาพอกบนใบหน้าทิ้งไว้จนแห้งประมาณ 10 นาที
          4. นวดบริเวณที่พอกหน้าไว้ให้ทั่วเพื่อเป็นการสครับ แล้วล้างออกให้สะอาด

สูตรหมักผมด้วยถั่วเขียว

ส่วนผสม

- เมล็ดถั่วเขียว
- น้ำชาเขียวแบบไม่ผสมน้ำตาล
- น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันอัลมอนด์
- โยเกิร์ต

วิธีใช้

          1. นำเมล็ดถั่วเขียวมาบดเป็นผงให้ละเอียด
          2. เติมน้ำชาเขียวลงในถั่วเขียวเล็กน้อย คนให้เข้ากันจนกลายเป็นเนื้อครีมข้นเหนียว
          3. เติมน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันอัลมอนด์ ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
          4. เติมโยเกิร์ตลงไป 2/3 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออก


ถั่วเขียว

11. ย่อยง่าย

          สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากอาการปวดท้อง หรือท้องเสีย ถั่วเขียวถือเป็นอาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะย่อยง่าย และอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็จะทำให้รู้สึกอิ่มแบบไม่หนักท้องจนเกินไปค่ะ

12. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

          สารไฟโตนิวเตรียนท์ (Phytonutrient) ที่อุดมอยู่ในถั่วเขียวมีคุณสมบัติในการต่อต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ จึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้การรับประทานถั่วเขียวยังช่วยกระตุ้นการดูดซึมสารอาหารที่มีส่วนในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

13. ลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)

          สาว ๆ ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นประจำทุกเดือนต้องรักถั่วเขียวมากขึ้นแน่นอน เพราะถั่วเขียวมีวิตามินบี 6 วิตามินบี และโฟเลต ที่ช่วยควบคุมไม่ให้ระดับฮอร์โมนแปรปรวน อันเป็นสาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือน นอกจากนี้ก็ยังช่วยบรรเทาอาการที่เกิดในช่วงมีประจำเดือน อย่างอาการปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน ปวดหัว ปวดตามกล้ามเนื้อ และอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย

14. ช่วยลดน้ำหนัก

          ถั่วเขียวถือเป็นอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักได้ดีไม่แพ้ธัญพืชชนิดอื่น ๆ เพราะถั่วเขียวมีไฟเบอร์และโปรตีนสูง ช่วยให้อิ่มท้อง และอิ่มนานขึ้น จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณน้ำตาลในเมนูถั่วเขียวด้วยนะ

15. บำรุงกระดูก

          อย่าเพิ่งคิดว่าจะมีแค่ถั่วเหลืองเท่านั้นที่มีแคลเซียมสูง เพราะถั่วเขียวเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินเคเช่นกัน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ดังนั้นการรับประทานถั่วเขียวก็เหมือนกับการบำรุงกระดูกให้แข็งแรงไปในตัว ถ้าใครไม่ชอบดื่มนมถั่วเหลือง หรือรับประทานเต้าหู้ ลองหันมากินถั่วเขียวก็ได้นะคะ

          นอกจากประโยชน์ข้างต้น ในฐานะพืชสมุนไพร ถั่วเขียวยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ไม่ว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ แก้เหน็บชา หากนำไปต้มกับเกลือแล้วนำมาอมก็สามารถรักษาอาการเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วยล่ะค่ะ

ถั่วเขียว

เมนูถั่วเขียว ของอร่อยทำง่ายได้ประโยชน์เพียบ 

          ถั่วเขียว เป็นธัญพืชที่นิยมนำมาทำเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน แถมยังสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย ใครที่กำลังสนใจอยากลองลิ้มชิมรสถั่วเขียวละก็ ลองมาดูเมนูเหล่านี้กันเลยค่ะ

          - ถั่วเขียวต้มน้ำตาล สูตรขนมหวานโปรตีนสูงจากธัญพืชต้นทุนต่ำ
          - ขับพิษ แก้ร้อนในด้วยน้ำถั่วเขียว
          - ถั่วเขียวต้มน้ำเก๊กหล่อ ขนมหวานโปรตีนเลอค่า รสเข้มจากพลังสมุนไพร
          - บัวลอยถั่วเขียว ขนมไทยหน้าฝนของคนรักสุขภาพ
          - ขนมถั่วกวน ขนมไทยสุดง่ายกับวัตถุดิบแค่ 3 อย่าง
          - เต้าส่วน ขนมไทยทำง่าย อุปกรณ์น้อย อร่อยเหนียว ๆ
          - ซุปถั่วเขียว โปรตีนจากถั่วสำหรับกรุ๊ปเลือด A
          - ลูกชุบหลากสี ขนมไทยสีสวยชวนรับประทาน

ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว

          แม้ถั่วเขียวจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร แต่สำหรับคนที่มีอาการแพ้ถั่วนั้นควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะถั่วเขียวเป็นพืชในตระกูลถั่วเช่นเดียวกับถั่วเหลือง และถั่วลิสง หากใครที่มีอาการแพ้ถั่วทั้ง 2 ชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงถั่วเขียวด้วยเพื่อความปลอดภัยค่ะ นอกจากนี้หากในบ้านมีเด็กเล็ก ก็ควรเก็บถั่วเขียวไว้ให้ห่างจากมือเด็ก เพราะขนาดที่เล็กของเมล็ดถั่วเขียว หากเด็กนำใส่ปากอาจติดคอและหลอดลมจนเป็นอันตรายได้ค่ะ

          ได้เห็นคุณประโยชน์อันน่าอัศจรรย์ของเจ้าถั่วเขียวกันแล้ว ก็อย่าพลาดที่จะให้ถั่วชนิดนี้เป็นหนึ่งในตัวเลือกเพื่อสุขภาพนะคะ แต่ก็อย่ามุ่งแต่หาอาหารที่มีประโยชน์กินเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าอยากจะสุขภาพดีแบบจัดเต็มก็ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย ถึงจะครบสูต



http://health..com/view153905.html

Related Post

Previous
Next Post »